วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การตีลูก

การเสริฟและการรับเสริฟเป็นทักษะสำคัญเมื่อนักกีฬาฝึกซ้อมจนมีความชำนาญแต่ละทักษะ ผู้ฝึกสอนสามารถนำมาฝึกร่วมกันได้ในลักษณะแข่งขันได้ระหว่างการเสริฟและการรับเสริฟ
ขั้นตอนการสอนทักษะการเสริฟ
ขั้นตอนที่ 1 การเสริฟมือล่าง
 
จุดสำคัญในการสอน :  ประยุกต์เทคนิคการส่งลูกมือเดียวมาใช้ เหวี่ยงแขนพร้อมยืดตัวขึ้น แขนไม่แกว่ง
ขั้นตอนที่ 2 การเสริฟมือบน
จุดสำคัญในการสอน :  ลำตัวตรง โยนบอลไม่สูงเกินไป ใช้ข้อมือขณะตีบอล
ขั้นตอนที่ 3 การเหวี่ยงแขนเสริฟมือบนเปลี่ยนทิศทาง
จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลไม่สูงเกินไป เหวี่ยงแขนไปด้านหลังงอศอก เหวี่ยงแขนกลับข้ามหัวไหล่ ใช้ข้อมือตีบอล ขณะตีบอลให้หยุดเหวี่ยงแขน
ขั้นตอนที่ 4 เหวี่ยงแขนเสริฟมือบน
จุดสำคัญในการสอน :  โยนบอลให้สูงกว่าขั้นตอนที่ 3 เหวี่ยงแขนไปด้านหลังแล้วเหวี่ยงแขนกลับโดยยืดแขนและลำตัวตีบอล
ขั้นตอนการสอนทักษะการรับเสริฟ
ขั้นตอนที่ 1 รับลูกเสริฟด้านหน้า
จุดสำคัญในการสอน :  ใช้หลักพื้นฐานการส่งบอล เคลื่อนที่ส่งบอล เคลื่อนที่ให้ลูกบอลอยู่หน้าลำตัว ลำตัวย่อต่ำและสายตาจ้องที่ลูกบอล
ขั้นตอนที่ 2 ย่อตัวต่ำรับลูกเสริฟ
จุดสำคัญในการสอน : เคลื่อนที่ย่อตัวใต้ลูกบอล
ขั้นตอนที่ 3 การรับลูกเสริฟด้านข้าง

การเสริพลูก

๑. ผู้เล่นยืนในเขตเสิร์ฟ หันหน้าเข้าหาตาข่าย ถือลูกบอลไว้ด้วยมือ
ทั้งสองข้าง เท้าแยกประมาณ ๑ ช่วงไหล่ถ้าเสิร์ฟด้วยมือขวา
ให้ยืนเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวา ย่อเข่าเล็กน้อยยกแขนข้างที่จะใช้
ตีบอลขึ้นพับข้อศอก และเงื้อไปทางด้านหลัง
๒.โยนลูกบอลขึ้นสูงจากมือประมาณ ๒ - ๓ ฟุต ( ไม่ควรโยนสูงนัก )
เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย
๓.เหวี่ยงแขนข้างที่ใช้ตีมาข้างหน้า ให้ฝ่ามือหรือกำปั้นปะทะลูกบอล
ที่กำลังลอย ตบลงบริเวณกลางลูกบอลหรือค่อนลงมาใต้ลูกบอล
๔.หลังจากมือปะทะลูกบอลแล้ว ให้ปล่อยแขนไปตามแรงส่งเล็กน้อย
ดังรูปที่ ๑ ก – ๑ ค

๑. ผู้เล่นยืนในเขตเสิร์ฟ หันหน้าเข้าหาตาข่าย ถือลูกบอล
ไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง เท้าแยก
ประมาณ ๑ ช่วงไหล่ถ้าเสิร์ฟ
ด้วยมือขวา ให้ยืนเท้าซ้ายอยู่
หน้า เท้าขวา ย่อเข่าเล็กน้อย
2. ยกแขนข้างที่จะใช้ตีบอลขึ้น
พับข้อศอก และเงื้อไปทางด้านหลัง
โยนลูกบอลขึ้นสูงจากมือประมาณ
๒ - ๓ ฟุต ( ไม่ควรโยนสูงนัก )
เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย
3. เหวี่ยงแขนข้างที่ใช้ตีมาข้างหน้า
ให้ฝ่ามือ หรือกำปั้นปะทะลูกบอลที่
กำลังลอย ตบลงบริเวณกลางลูกบอล
หรือค่อนข้างลงมา ใต้ลูกบอล
หลังจากปะทะลูกบอลแล้ว ให้ปล่อย แขนไปตามแรงส่งเล็กน้อย
 
         
รูปที่ ๑ ก
รูปที่ ๑ ข
รูปที่ ๑ ค

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่6







หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน

ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น
หัวหน้าชุด
ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้องเซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะติดต่อสอบถามขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีมของตน
ผู้ฝึกสอน
มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติการการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันในแต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น
ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ

กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่5



ผู้เล่น
ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์ 1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้ และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ได้
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ เสื้อของผู้เล่นต้องติดหมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุดเหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อระหว่างการแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ในกรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน

กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่4


ลูกบอล
ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 - 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม.
การใช้ลูกบอล 3 ลูก
การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน

กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่3

แสงสว่าง (Light) แสงสว่างในสนามควรอยู่ระหว่าง 500 – 1,500 วัตต์
แสงสว่างในสนามควรอยู่ระหว่าง 500 – 1,500 วัตต์
ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย
ตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย

กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่2


    1. เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
    2. เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
  • เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด

  • เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น

  • เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
  • กติกาของวอลเล่บอล ตอนที่1

    สนามแข่งขัน
    สนามแข่งขันควรจะเป็นพื้นดิน พื้นไม้หรือพื้นปูนซีเมนต์ (เรียบ) และต้องเป็นพื้นแข็งเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเป็นสนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบ ๆ สนาม ห่างจากสนามอย่างน้อย 3 เมตร ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปมีสิ่งกีดขวางหรือติดเพดานอย่างน้อย 7 เมตร หากเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ บริเวณรอบสนามต้องห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร จากเส้นข้าง และ 8 เมตร วัดจากเส้นหลัง ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 12.5 เมตร และสนามต้องเป็นพื้นไม้ หรือพื้นสังเคราะห์อื่น ๆ ได้ แต่ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอลบอลนานาชาติ (I.V.B.F)
    เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
    เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
    เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
    เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
    เส้นเขตแดน (Zone lines)
      1. เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด

    ประวัติ วอลเล่บอลในประเทศ ไทย

       วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้
                    ปี พ . ศ . 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณพงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น ในปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียนหญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร . น . ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา จนกระทั่งปี พ . ศ . 2500 ได้มีการจัดตั้ง " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี

    ประวัติของวอลเล่บอล

    ประวัติ

    กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ประเทศอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้
    เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
    จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโทเนตต์" (Mintonette)
    ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น
    ปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล